เลือกตั้ง 2566 : ส.ว.ส่วนใหญ่ ยังไม่ตัดสินใจโหวตเลือกนายก คำพูดจาก สล็อตวอเลท
เลือกตั้ง 2566 : รายแรกมาแล้ว! “ส.ว.วุฒิพันธุ์” ประกาศหนุน“พิธา”
นักวิชาการ คาด ส.ว.กลับลำไม่โหวตพิธา จ่อเสนอ ประวิตร-อนุทิน-พีระพันธ์
สมาชิกวุฒิสภาที่ประกาศตัวชัดว่าไม่โหวตแน่นอน คือ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ที่กล่าวชัดหลายมารอบแล้วว่า ไม่โหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้างไกล เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป รวมไปถึงหากเพื่อไทย ไม่สลัดพรรคก้าวไกลทิ้งจากพรรคร่วมรัฐบาล ก็จะไม่โหวตให้แคนดิเดตจากเพื่อไทยด้วย
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ก็กล่าวแบบเดียวกันกับ นายกิตติศักดิ์ คือ ไม่โหวตให้แน่นอน และไม่เลือกคนของเพื่อไทยด้วย ถ้า 2 พรรคยังจับมือกันไปต่อ
รวมถึง นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน ก็ไม่โหวตให้ และ นายทรงเดช เสมอคำ ที่ก่อนหน้านี้เคยบอกว่าจะโหวตให้ ล่าสุดเปลี่ยนใจ ระบุว่า ถ้ายังยืนยันแก้ไขมาตรา 112 ก็จะไม่โหวตให้ และเชื่อว่าเสนอสนับสนุนนายพิธา จะไม่ครบตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ส่วนฝั่งที่บอกว่าจะโหวตให้นายพิธา คือ นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ระบุว่า จะเลือกนายกรัฐมนตรีจากพรรคที่ได้ส.ส.มากที่สุด ซึ่งพูดแบบนี้สะท้อนชัดตรงตัวเลยว่า คือ พรรคก้าวไกล
ด้านนาง ประภาศรี สุฉันทบุตร กล่าวว่า จะโหวตให้นายพิธา เช่นกัน และหากนายพิธาไม่ได้เป็น ก็จะเลือกแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคอันดับ 2 แต่หากมีพรรคเสียงข้างน้อยเสนอตัว ยืนยันว่าจะไม่เลือก
ส่วน นายมณเฑียร บุญตัน, นายวันชัย สอนศิริ, นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ระบุว่า จะเลือกนายกรัฐมนตรี เสียงข้างมาก คือ ต้องเลือกจากพรรคที่รวมเสียงส.ส.ได้เกินกึ่งหนึ่ง
ขณะที่พลอากาศตรี เฉลิมชัย เครืองาม ไม่ได้ตอบชัดเจนว่าจะโหวตแบบใด แต่ระบุว่า “ไม่ได้มองที่ตัวบุคคล แต่พิจารณาจากแนวคิด ยึดความมั่นคงของประเทศชาติ ศาสนา และประชาชนเป็นสำคัญ เพราะไม่อยากนอนผวาว่าวันดีคืนดีจะมีใครมาทำลายเรื่องของความมั่นคงของชาติ และส่วนตัวไม่ได้มองว่าใครจะสืบทอดอำนาจของใคร แต่จะขอยึดความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก”
ส่วนพลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ให้ความเห็นว่า ส.ว. มี วุฒิภาวะมากพอที่จะตัดสินใจ เชื่อว่า ไม่ใช่การเลือกเพราะความคุ้นเคย ศรัทธา หรือผลประโยชน์อื่นใด แต่ทุกคนจะพิจารณาเลือกเพื่อให้บริหารประเทศได้
อย่างไรก็ตามคำถามว่า กลุ่มที่บอกว่าจะนายกรัฐมนตรีที่ได้เสียงข้างมาก ทำไมไม่บอกว่าจะเลือกนายพิธา เพราะตอนนี้ก็รวมเสียง 8 พรรค ได้ 312 เสียง ถือว่า เกินครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว หรือหากจะรอไปดูตอนโหวต ก็ไม่น่าจะรู้ว่า ใครได้เสียงข้างมาก เนื่องจากการโหวตไล่ลำดับตามตัวอักษร ก-ฮ ไม่ใช่โหวตแบบ ส.ส.ก่อนแล้วค่อยให้ ส.ว.โหวต
ทีมข่าว พีพีทีวี สอบถามไปที่ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าใครได้เสียงข้างมากในสภา นายดิเรกฤธิ์ ตอบว่า เขากำลังหารือกันว่า อาจจะขอเปิดญัตติให้ ส.ส. โหวตก่อน จากนั้น ส.ว.ค่อยโหวต ซึ่งหากจะทำแบบนี้ได้ ก็ต้องตั้งญัตติ และเสนอในที่ประชุม โดยเสียงที่จะขอเปิดญัตติในที่ประชุมสภา ใน 1 ใน 10 ของรัฐสภา หรือเท่ากับ 75 เสียง
นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่า ยังเป็นแค่แนวคิด เพราะ ต้องไปหาเสียงสนับสนุนก่อน
โดยประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะ หากมี ส.ว. ร่วมยกมือเปิดญัตตินี้ 75 คน ก็สะท้อนได้ว่า มีส.ว. ที่อยากโหวตให้เสียงข้างมาก 75 เสียง (มากกว่า เสียงที่นายพิธาขาดอยู่ คือ 64 เสียง) แบบนี้อาจเป็นสัญญาณที่ดีว่า เสียงน่าจะพอส่งให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า มีส.ว.อีกกลุ่มไม่ได้อยากรู้ ไม่ได้สนใจเรื่องเสียงข้างมาก เพราะ ไม่โหวตให้นายพิธา เพราะ นโยบายแก้ไขมาตรา 112