ในอดีตเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน ผืนแผ่นดินบนโลกไม่ได้แบ่งเป็นทวีปทั้ง 7 อย่างในปัจจุบัน แต่เป็นทวีปขนาดใหญ่เพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า “มหาทวีปแพนเจีย” (Pangaea) ก่อนที่จะค่อย ๆ แยกตัวเมื่อราว 175 ล้านปีก่อน จนกลายเป็นโลกอย่างที่เรารู้จักในปัจจุบัน
ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ในอีก 250 ล้านปีข้างหน้า จะเกิดการก่อตัวของ “มหาทวีปใหม่” ที่อาจกวาดล้างมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด
วิจัยใหม่ยืนยัน “กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม” กำลังอ่อนลงจริง
เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี
พบทารันทูลาสายพันธุ์ใหม่ในพังงา มีชื่อสุดเท่ว่า “บึ้งประกายสายฟ้า”
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลในสหราชอาณาจักร ใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สำหรับจำลองอนาคตอันไกล ทำนายว่า สภาพอากาศสุดขั้วจะรุนแรงขึ้นอย่างไรหลังจากที่ทวีปต่าง ๆ ในโลกรวมกันเป็นมหาทวีปเพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า “แพนเจีย อัลติมา” (Pangea Ultima) ในอีก 250 ล้านปี
ผลการจำลองพบว่า แพนเจีย อัลติมา จะมีสภาพอากาศร้อนจัด แห้ง และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จะมีชีวิตรอดอยู่ได้
นักวิจัยได้จำลองแนวโน้มของอุณหภูมิ ลม ฝน และความชื้น และใช้แบบจำลองการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เคมีในมหาสมุทร และชีววิทยา เพื่อคำนวณระดับคาร์บอนไดออกไซด์
พวกเขาพบว่า การก่อตัวของมหาทวีปแพนเจีย อัลติมา จะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของภูเขาไฟปะทุ ทำให้การพ่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่งขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผลให้โลกร้อนขึ้น
นอกจากนี้ แบบจำลองพบว่า ดวงอาทิตย์ก็จะสว่างขึ้น ปล่อยพลังงานมากขึ้น และทำให้โลกร้อนขึ้นอีก
อเล็กซานเดอร์ ฟาร์นสเวิร์ธ จากมหาวิทยาลัยบริสตอล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “มหาทวีปที่เกิดขึ้นใหม่จะสร้างผลกระทบ 3 อย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงของทวีป ดวงอาทิตย์ที่ร้อนขึ้น และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นในชั้นบรรยากาศ”
เขาเสริมว่า “อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะอยู่ที่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส และอาจร้อนจัดยิ่งกว่านั้นในแต่ละวัน ประกอบกับความชื้นในระดับสูง ทำให้ มนุษย์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ จะต้องสูญพันธุ์เนื่องจากไม่สามารถระบายความร้อนผ่านเหงื่อและทำให้ร่างกายเย็นลงได้”
ฟรานส์เวิร์ธตั้งข้อสังเกตอีกว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจะสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่มีอาหารและแหล่งน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนโลก
แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนอย่างมากเมื่อทำการคาดการณ์ในอนาคต นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าอนาคตดังกล่าวนี้ดู “มืดมนมาก” โดยจะมีพื้นที่บนโลกเพียงประมาณ 8-16% เท่านั้นที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะอาศัยอยู่ได้
งานวิจัยระบุว่า คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกในอนาคตอาจมีระดับเป็น 2 เท่า โดยการคำนวณนี้เกิดบนสมมติฐานที่ว่า มนุษย์หยุดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลตั้งแต่ตอนนี้
ทีมวิจัยเตือนว่า อนาคตอันเลวร้ายในอนาคตันไกล 250 ล้านปีข้างหน้า ไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่จะไม่มีการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคนทั่วโลกทุกปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ยูนิซ โล นักวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสุขภาพที่มหาวิทยาลัยบริสตอล หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะไม่ละสายตาจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมนุษย์”
โลเสริมว่า “ในขณะที่เรากำลังทำนายว่าโลกจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้ในอีก 250 ล้านปี แต่ทุกวันนี้ เรากำลังเผชิญกับความร้อนจัดซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ นี่คือสาเหตุว่าทำไมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์โดยเร็วที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ”
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงชีวิตบนโลก ผู้คนหลายพันล้านคนและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อาจไปถึงจุดที่ไม่สามารถปรับตัวได้อีกต่อไป เว้นแต่ภาวะโลกร้อนจะชะลอตัวลงอย่างมาก
เรียบเรียงจาก CNN
ภาพจาก University of Bristol
โปรแกรมการแข่งขัน เอเชียนเกมส์ 2022 ของนักกีฬาไทย วันที่ 27 ก.ย. 66
ประกาศฉบับ 9 เตือน ฝนตกหนักถึงหนักมาก ลมกระโชก 27-29 ก.ย.
เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ